เตือนการระบาดโรคเน่าเปียก หรือโรคราขนแมว

      ปิดความเห็น บน เตือนการระบาดโรคเน่าเปียก หรือโรคราขนแมว

ในช่วงมีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพริก ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคเน่าเปียก หรือโรคราขนแมว ที่เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

โรคที่พบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพริก มักพบที่ยอดอ่อนและกิ่งอ่อนแสดงอาการมีแผลช้ำฉ่ำน้ำ แล้วขยายลุกลามอย่างรวดเร็วลงตามกิ่ง ทำให้กิ่งแห้งหักพับ หากอาการรุนแรงใบและดอกจะร่วงจนเหลือแต่ก้าน และพริกจะไม่แตกยอดใหม่ ส่วนที่ผลอ่อนจะเกิดอาการช้ำฉ่ำน้ำ เน่า และหลุดร่วงได้ง่าย ถ้าอากาศมีความชื้นสูงมากๆ จะเห็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรามีลักษณะเป็นก้านใส ชูตั้งฉากขึ้นมาจากส่วนของพืชที่เป็นโรค มองเห็นคล้ายขนแมว ที่ส่วนปลายของก้านใสเห็นเป็นตุ่มสีดำซึ่งภายในบรรจุสปอร์ ซึ่งสปอร์สามารถปลิวไปสู่ต้นอื่นก่อให้เกิดการระบาดอย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น
การแพร่กระจาย
สปอร์ของราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝน หรือไปกับน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อยู่ข้ามฤดูได้โดยติดอยู่กับเศษซากพืชหรือพืชอาศัยอื่นๆ โรคระบาดได้รุนแรง เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ฝนตก อากาศเย็น ใบพืชเปียกเป็นเวลานานติดต่อกัน หรือมีอากาศแห้งในเวลากลางวันและอากาศเย็นมีน้ำค้างลงจัดในเวลากลางคืน
การป้องกันกำจัด
1.หมั่นสำรวจตรวจแปลงและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกพริกอย่างสม่ำเสมอ และควรปรับระยะปลูก
พริกไม่ให้แน่นจนเกินไป เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก และมีอากาศถ่ายเทสะดวก
2.จัดระยะปลูกพริกไม่ให้แน่นเกินไป และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก
3.ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง และร้อนอบอ้าว เมื่อพบ
พริกเริ่มมีอาการยอดช้ำ หรือที่ยอดมีเชื้อราเกิดขึ้น รีบตัดส่วนที่แสดงอาการโรค ใส่ถุงหรือภาชนะปิด
เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราแพร่กระจายทั่วแปลง นำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกัน
กำจัดโรคพืช ไดโคลแรน 75% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรโฟรีน 19% EC
อัตรา 20 – 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรไดโอน 50% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5 วัน
4.แปลงที่พบโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอยลิ้งค์(คลิก)