เตือนการระบาดผีเสื้อมวนหวาน

      ปิดความเห็น บน เตือนการระบาดผีเสื้อมวนหวาน

ผีเสื้อมวนหวาน (Fruit sucking moth)

ลักษณะ ลำตัวอ้วน ปีกคู่หน้าสีเทำหรือน้ำตาลปนแดง และมีแต้มสีเขียวบนปีก ปีกคู่หลังสีส้มหรือสีเหลือง มีจุดสีดำกลางปีกและมีแถบสีดำที่ขอบปีก
ลักษณะการทำลาย ผีเสื้อทำลายผลไม้โดยใช้ปาก (Proboscis) ที่แข็งแรง ม้วนอยู่ใต้หัวแทงเจาะทะลุผิวเปลือก และดูดกินน้ำหวานในผลไม้สุกเป็นอาหาร ผลที่ถูกผีเสื้อเจาะทำลายมักมีรอย เป็นวงสีน้ำตาล มีน้ำเยิ้มออกมาจากรอยเจาะ ต่อมาผลเน่าและร่วงลงดิน
ผลไม้ที่เป็นอาหารของผีเสื้อมวนหวาน ลองกอง ฝรั่ง กระท้อน มังคุด ฝรั่ง น้อยหน่ำ กล้วย มะละกอ พุทรำ ส้ม โอ มะม่วง ลำไย ลิ้นจี่ ส้มเขียวหวาน องุ่น เงาะ มะนาว
การป้องกันกำจัด
1.ทำลายวัชพืชต่างๆ ที่อยู่บริเวณสวนหรือบริเวณใกล้เคียงเนื่องจากวัชพืชบางชนิดเป็นที่
อยู่อาศัยของผีเสื้อมวนหวานและเป็นอาหารของหนอน
2.ผลไม้ที่สามารถห่อผลได้ เมื่อเริ่มสุกควรทำการห่อผลด้วยกระดาษถุงปูน หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ โดยการห่อเป็นรูปกรวยสามเหลี่ยม และเปิดที่ปลายโคนเพื่อเป็นช่องให้อากาศผ่านกันการเกิดผลเน่า
3.ใช้ไฟส่องจับ ในระยะที่ผลไม้เริ่มสุก เนื่องจากผีเสื้อมวนหวานเป็ นผีเสื้อกลางคืน และออกหากินในเวลากลางคืน
4.ใช้กับดักแสงไฟ black light ล่อตัวเต็มวัย ในช่วง 20.00-22.00 น. เป็นช่วงที่ตัวเต็มวัยออกหากินมากที่สุด
5.ล่อด้วยเหยื่อพิษ เนื่องจากเป็นแมลงที่ชอบผลไม้สุกดังนั้นจึงควรใช้ผลไม้สุก ชุบสารฆ่าแมลง เช่น คาร์บาริล 85% WP อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 5 นาที
6.ใช้กรงดักจับผีเสื้อมวนหวานทำด้วยมุ้งลวดทั้ง 6 ด้าน ด้านล่างเจาะเป็นรูปฝาชี ตั้งสูงจากพื้นดิน 20 – 30 เซนติเมตร ใช้ผลไม้สุกเป็นเหยื่อล่อที่ด้านล่าง
7.ฉีดพ่นด้วยสารสกัดสะเดาซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นสารไล่เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของผีเสื้อมวนหวาน โดยนำไปพ่นให้ทั่วในสวนเวลาเย็นขณะที่มีผลไม้สุก 3 – 4 ครั้ง ทุก 7 วัน
8.การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ เช่น แตนเบียนไข่ทริโคแกรมมา มวนพิฆาต และมวนเพชฌฆาต เพื่อกำจัดไข่และตัวหนอนผีเสื้อหวาน