เตือนการระบาดศัตรูพืชเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

      ปิดความเห็น บน เตือนการระบาดศัตรูพืชเพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน

เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durain psyllid )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allocaridala maleyensis
ลักษณะการทำลาย
ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกิน น้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ (ใบเพสลาด) ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติเมื่อระบาดมาก ๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมด นอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อน ของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำ ให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด
การป้องกันกำจัด
1.วิธีกล – วางกับดักกาวเหนียวสีเหลืองในระยะแตกใบอ่อน เพื่อล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย
2. เขตกรรม – ทำให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมกันโดยฉีดพ่นยูเรีย (46-0-0) ละลายน้ำ อัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
3. ชีววิธี – อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติเพลี้ยไก่แจะ เช่น แมลงช้างปีกใส ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม ด้วงเต่าตัวห้ำ
– ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 40 ลิตร
– ฉีดสารสกัดสะเดา อัตรา 60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
4. การใช้สารเคมี
– กลุ่ม 1 คาร์บาริล 85% WP อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
– กลุ่ม 3 แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5 % EC อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารในกลุ่ม 3 ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง)
– กลุ่ม 4 ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, อิมิดาโคลพริด 70 % WG อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร, ไทอะมีทอกแซม 25% WG 8 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
ควรพ่นสารเมื่อสำรวจพบเพลี้ยไก่แจ้ในช่วงแตกยอดอ่อน โดยสำรวจแปลงละ10-25% ของจำนวนต้นทั้งหมด ต้นละ 5 ยอด พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน