เตือนการระบาด โรคใบจุดสาหร่ายในปาล์มน้ำมัน

      ปิดความเห็น บน เตือนการระบาด โรคใบจุดสาหร่ายในปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่ายในปาล์มน้ำมัน


โรคใบจุดสาหร่าย เกิดจากเชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp. 

ลักษณะการทำลาย 

    เป็นจุดเล็กหรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (หากลุกลาม) บนใบ โดยจุดเล็กๆ ดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเป็นระยะเวลาติดต่อกัน

การระบาดมากช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์ของสาหร่ายสามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางลมและฝน
ผลกระทบต่อปาล์มน้ำมัน 
    สาหร่ายดังกล่าวจะปกคลุมบนแผ่นใบย่อยปาล์มน้ำมัน ทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง แต่ไม่ทำอันตรายแผ่นใบเหมือนราสนิม (ความแตกต่าง หากเป็นสาหร่าย สามารถทดสอบโดยปิดสก๊อตเทปบนแผ่น ใบย่อย และสามารถลอกแผ่นหรือจุด สาหร่ายออกมาได้ง่ายด้วยสก๊อตเทป โดยลักษณะผิวใบยังคงสภาพปกติ แต่หากเป็นราสนิม การปิดสก๊อต เทปบนแผ่นใบจะลอกราสนิมไม่ ออก)สำหรับปาล์มน้ำมันหรือพืช อื่นๆ ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ มีความชื้น ในทรงพุ่มสูง ได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึง จะพบใบจุดสาหร่ายเกิดได้โดยง่าย จากสปอร์ของสาหร่ายที่แพร่ระบาด ไปยังใบอื่นๆ
การป้องกันกำจัด 1. ติดตามสถานการณ์โรคจุดสาหร่ายในช่วงฝน โดยสำรวจสัปดาห์ละครั้ง 2. รวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย 3. หากพบอาการของโรคเพียงเล็กน้อย รีบจัดการตัดส่วนของใบย่อยดังกล่าวไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ของสปอร์ 4. หากทางใบแน่นมากไป พยายามตัดแต่งทางใบแห้งออก เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีลมผ่าน เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม 5. หากแผ่นใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะทางใบด้านล่าง ถูกปกคลุมด้วยสาหร่ายกว่าร้อยละ 30 แนะนำให้ใช้วิธีกล คือกำจัดทางใบดังกล่าวออก เพื่อลดการแพร่กระจาย ***สำหรับคำแนะนำการใช้สารเคมี “คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร” ฉีดพ่นที่แผ่นใบ เป็นคำแนะนำเดียวกับการกำจัดโรคราสนิมในพืชอื่น และยังไม่มีงานวิจัยที่ใช้กับปาล์มน้ำมัน ซึ่งอาจ มีผลกระทบกับใบปาล์มน้ำมันได้ ดังนั้นหากการแพร่กระจายของจุดสาหร่ายไม่รุนแรงมากนัก ขอให้ใช้วิธีกล จัดการตัดแผ่นใบย่อยที่มีจุดสาหร่ายออก มากำจัดเพื่อลดการแพร่ระบาด หากระบาดรุนแรงขอให้เกษตรกรลองทดลอง ใช้กับบางทางใบของปาล์มน้ำมันบางต้น เพื่อศึกษาผลของสารเคมีดังกล่าวก่อน

 ที่มา: ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี.