เตือนการระบาดโรคแอนแทรคโนสพริก

      ปิดความเห็น บน เตือนการระบาดโรคแอนแทรคโนสพริก

โรคแอนแทรคโนสพริก (Anthracnose Disease)

เชื้อสาเหตุ Colletotrichum spp.  เชื้อราสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะแตกใบอ่อน แตกช่อดอก หรือขณะมีผลอ่อน แต่จะก่อให้เกิดความเสียหายเมื่อผลสุก

ลักษณะการทำลาย  เมื่ออุณหภูมิความชื้นเหมาะสม เชื้อราจะสร้าง acervulus บนแผลเกิดสปอร์จำนวนมากและสามารถแพระกระจายไปยังผลอื่นโดยทางลมและฝนได้ เชื้อรานี้สามารถเข้าทำลายแบบแอบแฝงอยู่กับผลตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยว  อาการเริ่มต้นจะพบแผลเป็นจุดเล็ก สีน้ำตาลรูปร่างไม่แน่นอนและค่อยๆ ขยายวงกว้าง อาการที่ผลพริกเริ่มเป็นแผลหรือจุดช้ำเป็นแอ่งยุบ ลักษณะอาจกลมหรือไม่แน่นอน ขนาดตั้งแต่จุดเล็กๆ ไปจนเต็มความกว้างของผลพริก อาจมีเพียง แผลเดียวหรือหลายแผลก็ได้ ต่อมาแผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลหรือดำ หรือเป็นจุดสีเหลืองส้มหรือ น้ำตาลดำเป็นวงๆ เรียงซ้อนกันอยู่ที่แผลดังกล่าว เชื้อจะเข้าท่าลายผลพริกได้ทุกระยะการเจริญตั้งแต่ เริ่มเป็นผลเล็กๆ จนโตเต็มที่และสุกแดงแล้ว หากเป็นระยะที่ผลพริกยังอ่อน จะท่าให้ผลพริกคดโค้งงอ หรือบิดเบี้ยวขึ้น โดยแผลจะอยู่ด้านในผล ลักษณะคล้ายตัวกุ้งแห้งทำให้มีชื่อเรียกดังกล่าว พริกที่เป็นโรคตามธรรมชาติมักแสดงอาการให้เห็นชัดเจนบนผลพริกที่แก่จัดหรือผลสุก โรคนี้ถ้าเกิดกับต้นกล้า จะท่าให้ต้นกล้าแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

1.ถ้าเก็บเมล็ดพันธุ์เองต้องเก็บเมล็ดพันธุ์จากผลที่ไม่แสดงอาการของโรค

2.ก่อนเพาะเมล็ดควรแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50-55 ํC นาน 15-20 นาที หรือคลุกไตรโคเดอร์มา หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไทแรม, แมนโคเซบ เพื่อทำลายเชื้อที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์          

3.  กำจัดกิ่ง ใบ ผล ที่เป็นโรคนำมาเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก

4. หลังจากเก็บพริกจากต้นแล้วและอยู่ในระหว่างการขนส่ง ควรเก็บไว้ในที่เย็นภายใต้อุณหภูมิคงที่ 

5. การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในการป้องกันกำจัด เช่น เชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส และเชื้อราไตรโคเดอร์มา ฉีดพ่นจนถึงระยะเก็บเกี่ยว 

6.หากมีการระบาดรุนแรงให้พ่นด้วยสารสารเคมีที่มีประสิทธิภาพ เช่น แมนโคเซบ ไทแรม เบนโนมิล อะซอกซีสโตรบิน โพรคลอราช ฟลูซิลาโคล เป็นต้น โดยฉีดพ่นทุก 7-15 วัน  

ลิ้งค์(คลิก