หนอนเจาะเมล็ดทุเรียน (Durian seed borer)

แมลงชนิดนี้มีการระบาดเป็นจุดๆ เกษตรกรที่จันทบุรีเรียกแมลงชนิดนี้ว่า “หนอนใต้” เพราะเข้าใจว่ามีการนำทุเรียนมาจากทางใต้ และมีแมลงชนิดนี้ติดมาด้วย ลักษณะการเข้าทำลาย ตัวเต็มวัยวางไข่ไว้บนผลทุเรียนใกล้ๆกับขั้ว เมื่อหนอนฟักเป็นตัวก็จะไชเข้าไปกัดกินในเมล็ดทุเรียน ส่วนใหญ่จะไชในระยะเมล็ดแข็งแล้ว วงจรชีวิตจากไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย ใช้เวลา 2-3 วัน,38 วัน,1-9 เดือน และ 7-14 วันตามลำดับ การป้องกันและกำจัด1.การห่อผลระยะยาวโดยใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น 40×75 เซนติเมตร เจาะก้นถุงเพื่อระบายน้ำ โดยเริ่มห่อผลเมื่อทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จนถึงเก็บเกี่ยว2.การป้องกันกำจัดโดยวิธีผสมผสาน พ่นสารฆ่าแมลงในช่วงที่ทุเรียนติดผล เช่น ไซเพอร์เมทริน+ฟอสซาโลน คาร์บาริล หรือสารไพรีทรอยด์สังเคราะห์อื่นๆ ร่วมกับการห่อผลด้วยถุงพลาสติก หมั่นตรวจสอบหาหนอนที่พบในพืชอาศัยอื่นๆ หากพบไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด3.ผลไม้ที่ร่วงหล่นที่พื้นต้องเก็บทำลายเพื่อไม่ให้หนอนเจริญเป็นตัวเต็มวัยและแพร่พันธุ์ได้ต่อไป4.การตั้งกับดักแสงไฟฟ้าเป็นครั้งคราวในคืนเดือนมืดโดยใช้หลอดแบล๊กไลท์ เพื่อสำรวจช่วยในการตัดสินใจป้องกันกำจัดได้ดีขึ้นอ้างอิง: พิสุทธิ์ เอกอำนวย. 2562. โรคและแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ. พิมพ์ครั้งที่6. สายธุรกิจโรงพิมพ์. หน้า 162 https://www.thaigreenagro.com/ ทวี เก่าสิริ.2540. โรคพืชและแนวทางการวินิจฉัย.เอกสารเผยแพร่วิชาการ กองโรคพืชและจุลชีววิทยา.กรมวิชาการเกษตร.. 31 หน้า.

ใส่ความเห็น