แมลงวันทองพริก(solanum fruit fly)

แมลงวันทองพริก(solanum fruit fly)
ชื่อวิทยาศาตร์: Bactrocera latifrons (Hendel)
วงจรชีวิต
ระยะไข่ใช้เวลา 44-48 ชั่วโมง ระยะหนอน 8-10 วัน ระยะดักแด้ 11-14 วัน ตัวเต็มวัยอายุประมาณ 93-189 วัน
ตัวเต็มวัยเมื่อออกจาดดักแด้ได้ประมาณ 8 วันจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ และวางไข่ โดยจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงเวลาเย็นถึงพลบค่ำ ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ตลอดอายุขัย ได้ 124-325 ฟอง วางไข่สูงสุด 17 ฟองต่อวัน
ลักษณะการเข้าทำลาย
พบการเข้าทำลายตลอดช่วงระยะการเก็บเกี่ยว ตั้งแต่ระยะเข้าสีจนถึงพริกสุก ซึ่งเข้าทำลายสูงในพริกชุดแรก (พริกเม็ดง่าม) โดยตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่ที่ผล หนอนฟักกินชอนไชภายในผล ทำให้ผลเน่าร่วงหล่น ผลผลิตเสียหายและคุณภาพต่ำ
การป้องกันกำจัด
1.หมั่นเก็บผลพริกที่ถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย และร่วงหล่นในแปลงปลูกนำไปเผาทำลาย
2.ใช้เหยื่อพิษโปรตีนอินไวท์ (ผสมสาร Malathion 57%EC อัตรา 10 มล. กับเหยื่อโปรตีนอินไวท์ อัตรา 200 มล.ในน้ำ 5 ลิตร) โดยฉีดพ่นเหยื่อพิษประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนผลพริกเข้าสี โดยพ่นเป็นจุดทุกต้นรอบแปลง และพ่นเป็นแถวต้นละจุด ห่างกันแถวละ 5 เมตร ทุกสัปดาห์
3.ใช้น้ำมันปิโตรเลียม ได้แก่ DC tron plus 83.9 %EC หรือ SK 99 83.9%EC อัตรา 60 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุกสัปดาห์
4.พ่นด้วยสารฆ่าแมลง malation 57%EC อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกสัปดาห์
————————–
เอกสารอ้างอิง
กลุ่มบริหารศัตรูพืช กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช. (2557). ศัตรูพริก.
นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัดสาขา 4
วิภาดา ปลอดครบุรี สัญญานี ศรีคชา เกรียงไกร จำเริญมา และศรุตสิทธิอารมณ์. (2553). การใช้เหยื่อพิษโปรตีนเพื่อ
ป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ในพริก(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
กรมวิชาการเกษตร
วิภาดา ปลอดครบุรี สมศักดิ์ ศิริพลตั้งมั่น ศรุต สิทธิอารมณ์ และประชาธิปัตย์ พงษ์ภิญโญ. (2544). เทคโนโลยีป้องกัน
กำจัดเทคโนโลยีป้องกันกำจัดผลไม้ในพริกโดยวิธีผสมผสาน(รายงานการวิจัย). กรุงฯ : สำนักวิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร

ใส่ความเห็น