ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงศัตรูพืช

      ปิดความเห็น บน ศทอ.สฎ.ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงศัตรูพืช

วันที่ 27 มีนาคม 2566 นายจิรยุทธ จิตราภิรมย์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ นายสุทธิศักดิ์ ทองโอ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ และ นายปัญจ์ชิเน เชื้อชาญพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรจากศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่ติดตามการระบาดของแมลงศัตรูพืชในแปลงผักบางท่าข้ามเพื่อเตรียมทดสอบในงานวิจัยด้านดินและปุ๋ย และทางศูนย์ยังลงพื้นที่ติดตามในแปลงผักของนายสุเทพ  ทองภักดี  พบว่ามีการเข้าทำลายของด้วงหมัดผัก นอกจากนี้ยังพบการเข้าทำลายของหนอนใยผักอีกด้วย ณ แปลงผักบางท่าข้าม ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทางศูนย์ฯได้ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโดยด้วงหมัดผักนั้นป้องกันดังนี้ การป้องกันกำจัด 1.การไถตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7 – 15 วัน เพื่อทำลายตัวอ่อนและดักแด้ที่อยู่ใต้ดิน 2.ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา คาร์โปแคปซี อัตรา 50 ล้านตัว/น้ำ 20 ลิตร พ่นหรือราดลงดินก่อนปลูกหลังการให้น้ำ และพ่นทุก 7 วันหลังปลูก 3.ใช้เชื้อแบคทีเรีย (บีที) บาซิลลัส ทูริงเยนซิส เช่น โนโวดอร์เอฟซี โดยพ่นหรือราดทุก 7 วัน 4. ใช้สะเดาบดโรยรอบโคนต้น 20 กก.ต่อไร่  ทุก 7 วัน 5. สารเคมีที่แนะนำให้ใช้ ดังนี้ โทลเฟนไพแรด 16% EC 30 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร , ไดโนทีฟูแรน 10% WP 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร, อะซีทามิพริด 20% SP 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร , ฟิโพรนิล 50 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบการระบาด และควรพ่นสารสลับกลุ่มกลไกการฤทธิ์เพื่อชะลอการสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าแมลง หนอนใยผัก หนอนใยผัก  วิธีการ จัดการให้ใช้วิธีผสมผสาน ดังนี้1.วิธีกล  ทำกับดักใช้กากน้ำตาลผสมน้ำอัตราส่วน 1:5 ใส่ขวดพลาสติกเจาะรูแขวนไว้ตามสวนตัวผีเสื้อกลางคืนจะมาดูดกินเหยื่อจมน้ำ2.ใช้ชีวภัณฑ์ เชื้อบีที ที่เจาะจงกำจัดหนอนผีเสื้อ พ่นบีทีก่อนแล้วพ่นสารเคมีสลับ หรือบีที+สารเคมีจะได้ผลดี3.ใช้สารเคมี พ่นเมื่อเริ่มพบหนอนระบาด เช่น-กลุ่ม1 อะซีเฟต ไทโอไดคาร์บ หรือไตรคลอร์ฟอน -กลุ่ม2ฟิโพรนิล-กลุ่ม5สไปนีโทแรม-กลุ่ม6อีมาเมกติน-กลุ่ม 13คลอร์ฟีนาเพอร์-กลุ่ม15โนวาลูรอน ลูเฟนนูรอน-กลุ่ม21โทลเฟนไพแรด-กลุ่ม22อินดอกซาคาร์บ